- การศึกษา รวบรวมข้อมูลวิทยาการด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก เอกสาร ตำรา เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองน่านทุกแขนง รวมทั้งบุคลากร ผู้รู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกแขนง และองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาดูงานการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ หอศิลปวัฒนธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการจัดการองค์ความรู้และมรดกทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยยังคงเอกลักษณ์และศิลปกรรมท้องถิ่น ด้านการพัฒนาขีดความสามารถการจัดการฐานทรัพยากรท่องเที่ยวของชุมชน และด้านการตลาดที่วางอยู่บนฐานทรัพยากรท้องถิ่น ที่สมดุลในเชิงบูรณาการทั้งเชิงรุกและเชิงรับระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามแผนและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน รวมทั้งแผนและผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมืองเก่าน่าน ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
- การออกแบบปรับปรุงอาคารการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเดิม) และสิ่งปลูกสร้างโดยรอบจำนวน 6 รายการ ประกอบด้วย
- อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (ด้านหน้า)
- อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (ด้านหลัง)
- เสาธง
- อาคารกองอาสารักษาดินแดน
- อาคารโรงจอดรถ รวมทั้งรั้วและบริเวณโดยรอบทั้งหมด และ
- พระอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5
เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ ลานกิจกรรม หรือลานวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และวัฒนธรรมประเพณีของคนในจังหวัดน่าน
ทั้งนี้ การดำเนินงานจะยึดแนวทางที่สรุปได้จากข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะทำงานจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาศาลากลางจังหวัดน่านหลังเดิม ตามคำสั่งจังหวัดน่านที่ 6226/2559 ลงวันที่ 18 เมษายน 2559 ในการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559